ตอกเสาเข็ม เดินหน้ารถไฟฟ้า ‘สายสีม่วงใต้’ ปักหมุดทำเลทองราคาพุ่งตารางวาละล้าน!!

 

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ไฟเขียวก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ด้วยระยะทาง 23.6 กิโลเมตร คิดเป็นมูลค่ากว่า 8.2 หมื่นล้านบาท โดยจะเริ่มตอกเข็มบริเวณถนนสามเสน หน้าหอสมุดแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป และคาดว่า ปลายปี 2570 เส้นทางจะแล้วเสร็จพร้อมให้บริการได้

ส่งผลให้ มีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ปักหมุดจองพื่อขึ้นโครงการคอนโดมิเนียมกันอย่างคับคั่ง และยิ่งโดยเฉพาะทำเลบนถนนสามเสน  เขตบางซื่อ  ย่านชุมชนเก่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างบมจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์(LH) ที่อยู่ในระหว่างพัฒนาโครงการ เดอะรูม สามเสน  จำนวน5อาคาร มูลค่า 15,000 ล้านบาท  พร้อมกับที่ดินทำเลทองติดแม่น้ำเจ้าพระยา บนที่ดินโรงเลื่อยเก่ากว่า 17 ไร่เศษซึ่งเป็นที่ดินแปลงเก่าแก่หายากในย่านดังกล่าว

ปัจจุบัน มีโครงการคอนโดมิเนียมขนาดใหญ่เปิดรออยู่ก่อนแล้ว ขณะราคาที่ดินขยับสูงขึ้นซึ่งสวนทางกับช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3 เท่า   นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้ คอนซัลแตนท์ จำกัด ระบุว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้นั้น จะช่วยขยับราคาที่ดินให้ปรับสูงขึ้น จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 1.5-2 แสนบาทต่อตารางวา บนถนนสามเสน

และอนาคตอาจขยับไปได้ที่ 5-6 แสนบาท เท่ากับสถานีบางโพ มีกระแสข่าวว่า ที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มีแผนนำที่ดินออกขาย และได้มีผู้ประกอบการอสังหาฯให้ความสนใจ

ในขณะที่ ทำเลสถานีเตาปูน ,บางซื่อทำเลยอดฮิต อนาคตทะลุ1ล้านบาทต่อตารางวาปัจจุบันอยู่ที่ 7-8 แสนบาทต่อตารางวาแล้ว มีคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 10,000 หน่วย ทำเลดาวคะนอง พระปะแดง พระราม 2 ราคาที่ดินขยับขึ้นจากตารางวาละ 1แสนบาท เป็น 2-3 แสนบาท ต่อตารางวา

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รายงานว่ารถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้มีส่วนช่วยส่งเสริมการเดินทาง รวมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ทั้งภาคก่อสร้าง และธุรกิจอื่น ๆ ตามเส้นทางที่รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้พาดผ่านซึ่งมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก

และยังได้เชื่อมกับการเดินทางกับรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ทั้งสายที่เปิดให้บริการแล้ว และที่มีแผนการก่อสร้างเพิ่มเติม โดยนอกจากจะส่งเสริมให้เกิดการเดินทางเชื่อมโยงทั่วทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลแล้ว ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จากการสร้างเม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ภาคก่อสร้าง

อีกทั้ง การพัฒนาพื้นที่จะกระตุ้นให้ตลาดที่อยู่อาศัยตามพื้นที่เส้นทางที่พาดผ่านมีความคึกคักขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ค้าปลีก ท่องเที่ยว ยังได้รับอานิสงส์จากผู้เดินทางสัญจรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ขณะเดียวกันเม็ดเงินจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ เข้าสู่ภาคก่อสร้างถึง 8.2 หมื่นล้านบาท ภาคก่อสร้างรับอานิสงส์จากเม็ดเงินส่วนใหญ่กว่า 66% ของมูลค่าโครงการโดยรวม หรือ 8.2 หมื่นล้านบาท เป็นค่างานก่อสร้างและวางระบบราง เม็ดเงินจากการก่อสร้างและระบบรางรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้จะทยอยเข้าสู่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างไปตามกิจกรรมการก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ตั้งแต่ปี 2022-2027

EIC ประเมินว่า จะมีเม็ดเงินจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้เข้าสู่ธุรกิจก่อสร้าง โดยเฉพาะในช่วงปี 2024-2026 ราว 60,306 ล้านบาท หรือคิดเป็น 73% ของมูลค่างานก่อสร้างและวางระบบราง จากอัตราความก้าวหน้าของการก่อสร้างที่เร่งตัวขึ้น

โดยสรุป EIC ประเมินว่า เม็ดเงิน 63,883 ล้านบาท หรือคิดเป็น 78% ของมูลค่างานก่อสร้างและวางระบบราง จะกระจายไปยังผู้รับเหมาก่อสร้าง SMEs รวมถึงผู้ผลิต และผู้ค้าวัสดุก่อสร้าง

ที่มา : thansettakij

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn