สินค้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค-บริโภค หรือข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ล้วนมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นตามสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา หากคนที่เล่าให้เราฟังว่าสมัยก่อนมีก๋วยเตี๋ยวราคาชามละ 50 สตางค์อยู่ไม่มีคุณปู่-คุณย่าของเรา เราอาจจะไม่เชื่อเรื่องแบบนี้ก็ได้
แต่ไม่ว่าราคาข้าวของชนิดใดจะปรับขึ้นมาก ปรับขึ้นน้อยอย่างไรก็แล้วแต่ มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ดูเหมือนจะปรับขึ้นไม่เก่งเท่าอย่างอื่นเค้า นั้นก็คือเงินเดือนของเรานั้นเอง
คุณวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ(CFP.) อดีตผู้บริหารศูนย์วิจัยของธนาคารชื่อดัง ได้แสดงวิธีการคำนวณความสามารถในการซื้อบ้าน(Housing Affordability) ของคนไทยไว้ในบทความของเธอได้อย่างน่าสนใจ
คุณวิวรรณได้คำนวณความสามารถในการซื้อบ้านด้วยการนำข้อมูลค่าเฉลี่ยของราคาบ้านและข้อมูลรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมาหารกัน
ผลปรากฎว่าในปี 2564 ที่รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนในกรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ 39,047 บาท/เดือน และราคาที่อยู่อาศัยเฉลี่ยในพื้นที่เดียวกันอยู่ที่ 3.5 ล้านบาท จะต้องใช้เวลากว่า 25 ปี จึงจะมีเงินเก็บเพียงพอที่จะสามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ (ผู้คำนวณใช้การเก็บออมที่ 30% จากรายได้) ซึ่งตัวเลขของภูมิภาคอื่นก็ใกล้เคียงกัน เช่น
- ภาคกลาง 19 ปี
- ภาคเหนือ 28 ปี
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 27 ปี
- ภาคใต้ 29 ปี
ตัวเลขดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากของคนสมัยนี้ที่มีเพิ่มมากขึ้น หากต้องการอยากจะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
เนื่องจากคุณวิวรรณเคยได้ทำการคำนวณดังกล่าวนี้ไว้แล้วในช่วงปี 2554 ซึ่งในครั้งนั้น รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนอยู่ที่ 499,572 ล้านบาท (สูงกว่าตอนนี้) และราคาเฉลี่ยของที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 2.25 ล้านบาท
(ถูกกว่าตอนนี้) และต้องใช้เวลาออมเงินประมาณ 15 ปี จึงจะมีเงินพอซื้อที่อยู่อาศัยได้
การคำนวณในครั้งนี้จึงสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการซื้อบ้านของคนไทยที่ลดลงกว่า 60% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว
ที่มา
https://www.bangkokbiznews.com/blogs/business/business_finance/1023468?aoj=
https://www.thansettakij.com/property/538427
https://spacebar.th/en/business/housing-affordability-of-thai-people-less