เฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% รอบ 2 หวังสกัด ‘เงินเฟ้อ’ ที่พุ่งอย่างต่อเนื่อง!!

 

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.75% รอบ 2 สู่ระดับ 2.25%-2.50% เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ประธานเฟดยื้อไม่ให้สหรัฐฯเข้าไปสู่ภาวะถดถอย ส่งผลหุ้นดาวโจนส์ปิดพุ่ง 400 จุด

นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แถลงว่า FOMC ยืนยันอย่างยิ่งที่จะดึงตัวเลขของเงินเฟ้อให้แตะเป้าหมาย 2% ให้ได้ และคาดว่า การที่ทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องที่ดำเนินอยู่ขณะนี้ถือว่า “เหมาะสมแล้ว” แต่อาจจะชะลอความถี่ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยในอนาคตได้

เหตุผลของเบื้องหลังในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่รุนแรงสุดในรอบ 4 ทศวรรษ ‘เฟด’ ถูกตั้งคำถามถึงเศรษฐกิจสหรัฐฯตอนนี้อยู่ในภาวะถดถอยแล้วหรือแค่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย แต่ เฟดก็ได้ทำการปฎิเสธ เนื่องจากบริษัทในสหรัฐฯยังคงมีการจ้างงานเพิ่มเติม 350,000 ตำแหน่งในแต่ละเดือน

“ผมไม่คิดว่าสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะถดถอย” เฟดกล่าวกับผู้สื่อข่าวหลังเฟดเสร็จสิ้นการประชุม โดยอ้างถึงอัตราการว่างงานซึ่งยังคงใกล้เคียงกับช่วงที่ผ่านมา พร้อมกับยืนยันว่า “มันไม่สมเหตุสมผลที่สหรัฐฯจะอยู่ในภาวะถดถอย”

เหล่านักเศรษฐศาสตร์ ระบุว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่น ถือเป็นวงจรการคุมเข้มทางการเงินครั้งรุนแรงที่สุดของเฟด นับตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 80 ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะงักและต่อสู้กับเงินเฟ้อที่เป็นตัวเลข 2 หลัก สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อเศรษฐกิจสหรัฐ

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคยังไม่แตะระดับ 10% ต่อปีในเวลานี้ แต่อยู่ที่ 9.1% ซึ่งเสี่ยงมาก สำหรับเฟดและฝ่ายบริหารของ “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งจะเผชิญความอ่อนไหวเป็นพิเศษในช่วงก่อนการเลือกตั้งรัฐสภาในเดือนพฤศจิกายนนี้

ดาวโจนส์ปิดพุ่ง 400 จุด

รายงานจาก CNBC รายงานว่า ดาวโจนส์พุ่งขึ้น 436.05 จุด หรือเกือบ 1.4% สู่ระดับ 32,197.59 จุด และส่วน S&P 500 เพิ่มขึ้น 2.62% ปิดที่ 4,023.61จุด The Nasdaq เพิ่มขึ้น 4.06% เป็น 12,032.42 จุด

นักลงทุนยังได้รับการกระตุ้นหลังจากพาวเวลล์กล่าวว่า ‘เขาไม่เชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในภาวะถดถอย’ นอกจากนี้ในวันพฤหัสบดียังมีการประกาศ GDP ไตรมาส 2 อีกด้วยและยังได้เสริมว่า “มีหลายด้านของเศรษฐกิจที่ทำงานได้ดีเกินไปด้วยซ้ำ” จากคำกล่าวของเฟดทำให้ความกังวลเหล่านั้นได้คลี่คลายลง

ที่มา : reuterscnbc

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn