ตลาดรับสร้างบ้านฟื้น สวนเศรษฐกิจที่ซบเซา พร้อมแนะกระแส ‘บ้านหรู’ มาแรง!!

นาย วรวุฒิ กาญจนกูล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า ตลาดรับสร้างบ้านในครึ่งปีหลังนี้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสวนทางกับเศรษฐกิจที่กำลังซบเซา ดูได้จากยอดการสั่งสร้างบ้านที่มากขึ้น ในกลุ่มบ้านระดับราคา 5-10 ล้านบาท และกลุ่มบ้านหรูระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ รวมถึงแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม และตลาดรับสร้างบ้านในต่างจังหวัด ความต้องการหลักจะอยู่ในกลุ่มบ้านที่ราคา 2.5-3.5 ล้านบาท

จากการที่ในจังหวัดท่องเที่ยวที่เริ่มมีนักท่องเที่ยวกลับมา ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว และยังทำให้ผู้บริโภคที่มีความพร้อม สามรถเริ่มปลูกสร้างบ้านให้กับตนเองและครอบครัว

ในครึ่งปีแรกได้มียอดจองสร้างบ้านในเดือน มี.ค. มีมูลค่า 3,600 ล้านบาท ถือว่าสูงในรอบ 5 ปี คาดว่าสิ้นปี 2565 นี้ตลาดรับสร้างบ้านกลับมาฟื้นตัวเท่าปี 2562 ที่เป็นช่วงก่อนโควิด-19 จะระบาด ด้วยมูลค่า 12,000 ล้านบาท ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่คาดไว้นั้นสวนทางกับปัจจัยลบ ไม่ว่าจะภาวะเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจในประเทศที่ซบเซา รวมถึงสถานการเมือง

ปัจจัยลบที่อาจเข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจรับสร้างบ้าน

อาทิ การระบาดของโรคสายพันธุ์ใหม่ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ที่จะส่งผลกระทบต่อกลุ่มลูกค้าระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาทค่อนข้างมาก แต่สำหรับกลุ่มที่มีกำลังซื้อบ้านระดับราคา 10 ล้านบาทขึ้นไปไม่ได้รับผลกระทบ นั่นเป็นเพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ โดยที่ไม่ต้องกู้เงินธนาคาร เพราะนิยมใช้เงินสด จึงทำให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านส่วนใหญ่หันมารับสร้างบ้านราคา 5-10 ล้านบาทมากขึ้น

ภาพรวมราคา ของการรับสร้างบ้านต้นปี 2565 ปรับขึ้น 10% สำหรับบ้านหลังใหญ่ แถบจะไม่ได้รับผลกระทบ เพราะลูกค้าเข้าใจสถานการณ์ ที่ต้องปรับต้นทุนขึ้น แต่กลับกันกลุ่มลูกค้าบ้านระดับราคาต่ำกว่า 5 ล้านบาท นั้นได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องเกิดการชะลอการสร้างไปก่อน

ปัจจุบัน มีแนวโน้มว่าวัสดุและค่าแรงนั้น จะปรับราคาขึ้นแน่นอน  เพราะยังมีการการขาดแคลนแรงงานอยู่บ้าง ส่วนวัสดุหลักที่ขึ้นราคา คือ ซีเมนต์ ปรับราคาขึ้นหลังจากที่อั้นมานานล่าสุดปรับราคาขึ้นมา 400 บาทต่อคิว  เป็นผลมาจากต้นทุนราคาถ่านหินซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตซีเมนต์ขึ้นราคา แต่ยังมีความโชคดีที่ราคาเหล็กลดลงมา ถือเป็นปัจจัยลบที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด

ที่มา : bangkokbiznews

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn