พระเครื่อง การลงทุนที่อยู่คู่คนไทยมาก่อนตลาดหุ้นจะเกิด

 

วันเวลาและรูปแบบของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา ทำให้การลงทุนที่โดยปกติแล้วต้องยึดโยงกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยไปด้วย ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากต่อการใช้ชีวิของมนุษย์ เราก็จะเห็นว่ารูปแบบการลงทุนก็ถูกปรับให้มีความเชื่อมโยงกับเทคโนโลที่ล้ำสมัยเหล่านี้ด้วยเช่นดัน อย่างเช่นกระแสการลงทุนใน บิทคอยน์(Bitcoin) สกุลเงินดิจิทัล ที่มีพื้นฐานการทำงานบนระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกเชน(Blockchain) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยราคาที่พันพวนเป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้ที่เข้าไปลงทุนและเก็งกำไรเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นเศรษฐีใหม่อายุน้อยที่ประสบณ์ความสำเร็จจากการซื้อบิทคอยน์มากมาย

หากย้อนกลับไปก้อนหน้านั้นการลงทุนในหุ้นของบริษัทก็ถือเป็นทางเลือกการลงทุนทีไ่ด้รับความนิยมเช่นเดียวกัน มีตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นตัวกลางการซื้อหุ้นของประเทศต่าง ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่จัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2518 ด้วยเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีอัญมณีมีค่า ทองคำ และอื่น ๆ อีกมากมายที่สามารถลงทุนได้

จะเห็นว่าสินทรัพย์ทั้งหลายเหล่านี้ล้วนเป็นการลงทุนที่เกิดขึ้นและได้รับความนิยมทั่วไปในระดับสากล แต่หัวข้อที่เราจะพูดถึงในวันนี้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถมองได้หลากหลายมุม ใครที่ชื่นชอบการลงทุนอาจตีความว่าเป็นสินทรัพย์ลงทุน แต่ใครที่มีความเชื่อความศัทธาอาจจะต้องการครอบครองไว้เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยจิตใจก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ “พระเครื่อง” นั้นเอง

ที่มาความนิยมของพระเครื่อง

งานวิจัยของ ชายะ มัณฑนาจายุ ที่ได้ศึกษาเรื่อง “พระเครื่อง พระธรรม” เล่าว่าพระเครื่องได้รับความนิยมมาตั้งแต่ในสมัยรัชากาลที่ 3 แล้ว โดยเฉพาะในรัชกาลที่ 4 ที่มีการจัดสร้างพระเครื่องขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยมีการคาดการณ์สาเหตุกันว่า น่าจะเกิดจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านได้เดินทางแสวงบุญไปที่จังหวัดกำแพงเพชร และได้พบพระกรุ(พระเครื่องในสมัยก่อน) ที่หลุดแตกออกมาจากเจดีย์ จึงเก็บนำไปแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านและลูกศิษย์ที่พบเจอ หลังจากนั้นประชาชนจึงเริ่มมีการนำพระกรุมาพกไว้ติดตัวเพื่อมากขึ้น จนกระทั่งมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่มีการสร้างพระเครื่องและแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นขวัญและกำลังใจในการใช้ชีวิตในช่วงสงคราม ด้านประชาชนเองก็ต้องการพระเครื่องจากพระที่ตนนับถือและเชื่อว่าจะสามารถคุ้มครองตนให้พ้นภัยในช่วงสงครามนี้ได้จึงเกิดการแลกเปลี่ยนพระเครื่องขึ้น และพัฒนาต่อยอดมาจนถึงปัจจุบันที่มีทั้งตลาดพระ ศูนย์ซื้อขายพระ และเว็บไซต์ขายพระแบบออนไลน์ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ประเมินมูลค่าของตลาดพระเครื่องไทยในปีพ.ศ.2562 ไว้ว่าน่าจะมีมูลค่าราว 20,000 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ยังไม่รวมถึงพระเครื่องที่จำหน่ายและส่งออกให้แก่ชาวต่างชาติที่หลงใหลและซื้อหาพระเครื่องของไทยอีกด้วย ซึ่งในแต่ละปีจะมีมูลค่าตลาดขึ้นลงตามภาวะของเศษฐกิจของประเทศและกำลังซื้อของผู้คนในขณะนั้น  

ศูนย์วิจัยยังได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกว่า การขยายตัวของตลาดพระเครื่องโดยการนำตลาดขึ้นมาอยู่บนระบบออนไลน์ ทำให้เข้าถึงกลุ่มผู้ที่สนใจใหม่ ๆ ได้ เช่น กลุ่มวัยรุ่น ผู้หญิง และชาวต่างชาติแถบเพื่อนบ้านโดยเฉพาะตลาดจีนและสิงคโปร์

พุทธคุณ ผลตอบแทนที่หาจากการลงทุนอื่นไม่ได้

สำหรับการลงทุนประเภทอื่นอย่างเช่น หุ้น กองทุน พันธบัตรรัฐบาล หรือบิทคอยน์ ผลตอบแทนที่ได้จากสินทรัพย์เหล่านี้มักจะอยู่ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล กำไร-ขาดทุนที่ได้จากส่วนต่างราคาตอนซื้อขาย หรือผลตอบแทนอื่น ๆ แต่สิ่งที่เป็นเอกลักษณะและการลงทุนประเภทอื่นไม่สามารถให้ได้เลยนั้นก็คือ “พุทธคุณ” 

นอกจากส่วนต่างราคาของพระเครื่องที่อาจจะทำให้ผู้เป็นเจ้าของทำกำไรได้สูงแล้ว ผู้ที่มีความเคารพศัทธายังเชื่อว่า หากกราบไหว้บูชาแล้วจะสามารถปกป้องคุ้มครองตนให้รอดพ้นจากภัยอันตรายได้ ช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่จะเข้ามาให้คล้าวคลาดปลอดภัย ให้ร่ำรวยชื่อมีเสียงเงินทองทั้งโชคลาภเกียติยศและเมตตามหานิยม ซึ่งพุทธคุณของแต่ละองค์ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ตามพระเกจิอาจารย์ท่านที่สร้างเหรียญขึ้นมา รวมถึงตำนวนเรื่องราวของผู้เคารพบูชาพระเครื่องแต่ละรุ่นที่ถ่ายทอดเรื่องที่ตนได้ประสบณ์พบเจอมาจากการพกพระเครื่องติดตัวไว้

ตลาดพระออนไลน์ ใบรับรองพระแท้ บริการที่ช่วยขยายตลาดพระเครื่อง

นอกจากตลาดพระท่าพระจันทร์ พันธุ์ทิพย์ งามวงศ์วานชั้น 3-4 ตลาดพระเครื่องพญาไม้ และพ่อค้ารายย่อยที่เปิดแพงขายอยู่ตามศูนย์การค้า ตามตลาด ตามข้างทาง ฯลฯ ในปัจจุบันตลาดพระยังถูกนำเข้าสู่ระบบออนไลน์อีกด้วย อย่างเช่นเว็บไซต์ samakomphra.com ที่ก่อตั้งโดยสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย หรือ thaprachan.com จากชมรมพระเครื่องท่าพระจันทร์ เป็นต้น 

เว็บไซต์เหล่านี้นอกจากจะเป็นการยกตลาดพระเครื่องที่ต้องเดินส่องดูตามแพงตามตู้อย่างเดิมให้เข้าสู่รูปแบบดิจิตอลแล้ว ยังมีบริการอื่น ๆ ที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมการเช่าซื้อพระเครื่องอีกด้วย เช่น บริการออกใบรับรองพระแท้ บริการความรู้ผ่านเสื่อVDOหรือบทความในแวดวงพระเครื่อง ข่าวประชากิจกรรมในวงการ  ฯลฯ เหล่านี้เป็นตัวช่วยให้ผู้ที่ไม่เคยสนใจแวดวงพระเครื่องเลย ให้มีโอกาสได้มารู้จักกับวงการพระเครื่องมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างพระเครื่องรุ่นยอดนิยมและราคาแพง

  • พระเบญจภาคี
  • พระสมเด็จวัดระฆัง
  • พระนางพญา
  • พระรอด
  • พระผงสุพรรณ
  • พระกำแพงซุ่มดอ
  • พระร่วงหลังรางปืน
  • เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน
  • เหรียญหลวงปู่ทวด
  • เหรียญหลวงพ่อวัดปางน้ำ
  • เหรียญหลวงปู่โต๊ะ

โดยที่แต่ละเหรียญแต่ละองค์ มีราคามากกว่าหลักแสนหลักล้านทั้งสิ้น

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn