วิกฤตธนาคารล้มติดต่อกัน 3 แบงค์ภายในหนึ่งสัปดาห์ กลายเป็นปัญหาทางการเงินขนาดใหญ่อันดับ 2 ในหน้าประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ที่หน่วยงานกำกับดูแลหลายฝ่ายต้องเข้ามาช่วยกันสกัดเพื่อเรียกความเชื่อมั่นในระบบการเงินการธนาคารกลับมา และยังต้องป้องกันไม่ให้ธนาคารอื่น ๆ ได้รับผผลกระทบตามกันไปด้วย
จากการวิเคราะห์ของหลายฝ่ายทำให้เชื่อได้ว่าต้นเหตุการล้มของธนาคารในครั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดมาจากปัจจัยที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้ต้นทุนทางการเงินในการประกอบธุรกิจสูงขึ้น สภาพคล่องในระบอบเศรษฐกิจลดลง และผลตอบแทนพันธบัตรที่ธนาคารส่วนมากมักถือครองเป็นสินทรัพย์ได้รับผลตอบแทนลดลง
Jan Hatzius นักเศรษฐศาสตร์จาก Goldman Sachs กล่าวว่า “ท่ามกลางความตรึงเครียดในระบบการเงินการธนาคาร เราไม่คาดว่าในการประชุม FOMC ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้ ทาง Fed จะปรับดอกเบี้ยนโยบายให้สูงขึ้นอีก”
นอกจากนั้นมาตราการทางการเงินที่หน่วยกำกับดูแลการเงินสหรัฐฯ ประกาศออกมาในช่วงวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2566 จะสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ระบบ ไม่ให้เกิดเหตุการณ์คล้ายวิกฤตซับไพรม์ (Subprime Crisis) ในช่วงปี 2008 ได้ รวมถึงกองทุน Bank Term Funding Program (BTFP) ที่ธนาคารกลางจัดตั้งขึ้น ยังช่วยป้องกันธนาคารอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่ให้ล้มตามได้
ด้าน CME FedWatch Tool เครื่องมือวัดแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ที่จัดทำโดย CME Group ยังแสดงโอกาสการไม่ขึ้นดอกเบี้ยในการประชุม FOMC ครั้งถัดไปที่ 20% ซึ่งเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เหตุการณ์การล้มละลายของธนาคารทั้ง 3 เกิดขึ้น
ที่มา