ก.ล.ต. เผยสถิติบัญชีการเทรดคริปคริปโตของนักลงทุนไทย ได้มีการปรับตัวลดลงกว่า -67% จากปลายปี 2564 การปรับลงในครั้งนี้นับได้ว่าเป็นการปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงที่สุดตั้งแต่จุดสูงสุดของตลาดคริปโตในประเทศไทยเลยทีเดียว
รายงานจากสำนักงาน ก.ล.ต. แสดงให้เห็นถึงตัวเลขของสถิติยอดบัญชีการเทรดคริปโตของนักลงทุนในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน โดยจำนวนบัญชีเทรดคริปโตที่มีการเคลื่อนไหวในประเทศไทย ในปัจจุบันได้มีจำนวนเคลื่อนไหวอยู่ที่ประมาณ 2.3 แสนบัญชีเทรด จากเดิมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 7.07 แสนบัญชี เมื่อเดือนธันวาคม 2564 หรือได้มีการปรับตัวลดลงถึง -67%
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุนและตลาดคริปโต นั้นมีหลายวาระ ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิกฤติการล่มสลายลงของเหรียญ LUNA หรือ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงนโยบายของ FED ซึ่งทำให้ ราคาเหรียญบิทคอยน์ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง จนกระทั่งนำมาสู่หายนะการล่มสลายของแพลตฟอร์มคริปโตในประเทศ ไว่ว่าจะเป็น 3AC หรือ celsius ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบที่กระจายเป็นวงกว้างไปยังผุ้ประกอบการธุรกิจคริปโตในประเทศต่างๆหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นล่าสุดแสดงให้เห็นผ่านทางกลุ่มกระดานเทรด Zipmex โดยเฉพาะในประเทศไทย
และดูจากจากสถิติยอดจำนวนบัญชีคริปโตจากกระดานเทรดในประเทศไทยแล้วทั้งสิ้นมีจำนวนประมาณ 2.8 ล้านบัญชี โดยมีบัญชีที่มีการเคลื่อนไหวในปัจจุบันที่ 2.3 แสนบัญชี หรือคิดเป็น 8% ของคนที่เปิดบัญชีและทำการซื้อขายคริปโตหรือสินทรัพย์ดิจิทัลขณะที่อีก 92% เป็นบัญชีร้างว่างเปล่าที่เปิดบัญชีไว้ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหวทางธุรกรรม
ในขณะเดียวกันส่วนของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จากสมาคมโบรก ฯ ระบุว่า จากวิกฤติโควิดที่ต่อเนื่องมากว่า 2 ปี ก่อให้เกิดสถานการณ์เงินเฟ้อสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรมตลาดทุนด้วยเช่นกัน โดยยอด จำนวนบัญชีที่ซื้อขายหลักทรัพย์ที่ยังมีการเคลื่อนไหวในการซื้อขายหุ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยก็ได้ปรับตัวลดลงจากเดิมที่ 754,289 บัญชี ลดลงมาอยู่ที่ 611,524 บัญชี หรือคิดเป็น -18.9%โดยหากพิจารณาจากยอดตัวเลขเปรียบเทียบ ยังถือว่าได้รับผลกระทบน้อยกว่าในตลาดคริปโต
และสิ่งที่สะท้อนถึงภาคอุตสาหกรรมคริปโตมากที่สุดก็คือ ผู้ประกอบธุรกิจกระดานเทรดรายต่างๆในประเทศไทย ซึ่งมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียมในการเทรด มาก-น้อย แล้วแต่ที่กระดานเทรดเหล่านั้นกำหนด ซึ่งจากการปรับตัวเข้าสู่ตลาดขาลงของคริปโต จะส่งผลให้รายได้ของกระดานเทรดเหล่านั้นลดลงตามไปด้วย
เพราะเนื่องจากนักลงทุนหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากวิกฤติความผันผวนที่รุนแรง จะชะลอการลงทุนหรือย้ายเม็ดเงินไปยังสินทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า จึงส่งผลให้แนวโน้มสินทรัพย์เคลื่อนไหวในอุตสาหกรรมคริปโตลดลงตามไปด้วย ซึ่งคงต้องมาจับตาดูกันต่อไปว่าช่วงไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วง high season ของตลาดการลงทุนจะมีแนวโน้มว่าตลาดจะพลิกกลับมาฟื้นขึ้นมาหรือไม่ โดยเฉพาะข้อตกลงในการการซื้อกิจการของ SCBX ที่เลื่อนเจรจาอย่างไม่มีกำหนด เพื่อรอตลาดคริปโตกลับมาฟื้น หรือซื้อเวลาเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง ก่อนที่จะสรุปข้อตกลงในอนาคต
ที่มา : mgronline