รู้หรือไม่ ทั่วโลกเหลือเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบ

หลังการประชุมนโยบายการเงินของญี่ปุ่นเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ผลการประชุมเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังคงเลือกใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเป็นพิเศษ เลือกตึงอัตราดอกเบี้ยไว้อยู่ที่ระดับ -0.1% เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย “yield-curve control policy” แต่จะมีการเข้าแทรงแซงตลาดแลกเปลี่ยนค่าเงินของประเทศ โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่มีจำกัด เพื่อรักษาเสถียรภาพของค่าเงินเยนเอาไว้

 

ทางด้านสวิตเซอร์แลนด์ อีกหนึ่งประเทศที่มีนโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบ และเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้นโยบายนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 กันยายนเช่นกัน ทางธนาคารกลางของประเทศได้มีการปรับชุมและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของประเทศขึ้น 0.75% เพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อที่ระดับ 3.5% ในเดือนที่แล้ว ทำให้จากเดิมที่เคยมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ -0.25 ตอนนี้ขึ้นมาเป็น 0.5%  

 

ส่งผลให้ตอนนี้เหลือเพียงญี่ปุ่นประเทศเดียวในโลก ที่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยในรูปแบบที่ติดลบอยู่

 

ดอกเบี้ยติดลบคืออะไร

ดอกเบี้ยติดลบ คือนโยบายทางการเงินชนิดหนึ่ง ที่ธนาคารกลางของประเทศใช้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มักจะใช้เพื่อแก้ปัญหาในยามที่ประเทศเข้าสู่สภาวะเงินฝืด(Deflation) ประชาชนไม่ยอมจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ตัวดอกเบี้ยติดลบนี้จะทำให้เงินที่ประชาชนฝากเอาไว้กับทางธนาคาพาณิชย์มีจำนวนลดลง เนื่องจากโดนทางธนาคารคิดดอกเบี้ย รวมถึงเงินที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้ที่แบงค์ชาติด้วยเช่น จึงทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดการถือครองเงินลง และเร่งปล่อยกู้ให้แก่ภาคประชาชนมากขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

แต่อย่างไรก็ดี นโยบายอัตราดอกเบี้ยแบบติดลบก็ยังมีข้อเสียอยู่ด้วยเช่นกัน เช่น เงินทุนไหลออกนอกประเทศ เพื่อไปหาแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า หรือประชาชนไม่สนใจการเก็บออมเงิน เป็นต้น 

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn