Case Study : Aurora จากร้านทองตึกแถว สู่การเตรียมตัวขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

วันที่ 12 สิงหาคม ปี 2565 บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด เจ้าของ “ห้างเพชรทองออโรร่า” ร้านค้าปลีกทองรูปพรรณ เครื่องประดับเพชรและอัญมณี ที่มักพบเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าเวลาที่ทุกคนเดินเลือกซื้อสินค้า ได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน(IPO) กับทาง ก.ล.ต. เพื่อเตรียมนำหุ้นกว่า 300 ล้านหุ้น ออกเสนอขายสู่สาธารณะ ที่ถือว่าเป็นเป้าหมายความสำเร็จที่ผู้ประกอบการบริษัทต่างคาดหวังว่าซักวันหนึ่งบริษัทของฉันจะต้องเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ให้ได้

และในวันนี้ ห้างเพชรทองออโรร่า มาถึงเป้าหมายนั้นแล้ว

แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ห้างทองแห่งนี้ต้องผ่านประสบการณ์อย่างไรมาบ้าง บทความชิ้นนี้จาก ลองลงทุน ได้รวบรวมข้อมูลนำมาเป็นกรณีศึกษาให้แก่ผู้ที่สนใจเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

ก่อนจะกลายมาเป็น ห้างเพชรทองออโรร่า

ย้อนหลังกลับไปในปีพ.ศ. 2516 ห้างทอง “ซุ่ยเซ่งเฮง” บรรพบุรุษของห้างเพชรทองออโรร่าได้เปิดให้บริการเป็นสาขาแรกที่ถนนสุขุมวิท 103 เขตบางนา กรุงเทพฯ 

 

ห้างทองซุ่ยเซ่งเฮง เกิดจากทายาทช่างทองฝีมือดีที่มีทั้งความเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องทองคำร่วมกับประสบการณ์การทำทองคำเป็นเวลานาน เป็นผู้ผลิตและขายส่งทองคำแก่ร้านค้าทองคำในย่านเยาวราช วันหนึ่งจึงเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจ ตัดสินใจเปิดกิจการห้างทองเป็นของตนเอง

 

ในช่วงแรกยังเป็นรูปแบบกิจการตึกแถว ชั้นล่างเปิดเป็นร้านขายทอง ส่วนด้านบนเป็นที่พักอาศัย เจ้าของใช้ความขยันเร่งทำทองเพื่อให้มีทองล็อตใหม่ออกมาจำหน่ายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเป็นร้านทองที่ช่างทองเป็นเจ้าของกิจการเอง จึงทำให้ลูกค้าเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ เข้ามาใช้บริการอยู่ไม่ขาดสาย กิจการจึงเริ่มเติบโตและขยายสาขาเพิ่มกว่า 10 สาขา พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อร้านเป็น “ร้านทองแท้ออโรร่า” 

 

ปรับตัวและพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ในขณะนั้นเป็นช่วงที่ศูนย์การค้าเกิดขึ้นมากมาย ปีพ.ศ.2529 ร้านทองแท้ออโรร่าจึงขยายเข้ามาเปิดในศูนย์การค้าร้านแรกที่เดอะมอล รามคำแหง นับว่าเป็นร้านทองแท้เจ้าแรกที่ขยับตัวเข้ามาเปิดกิจการในศูนย์การค้า

 

ด้วยความไม่หยุดพัฒนา ทางร้านจึงนำสินค้าและบริการรูปแบบใหม่มาให้บริการแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ จากเดิมที่เคยมีแค่ทองรูปพรรณ 96.5% ทางร้านยังมีสินค้าประเภทเครื่องประดับเพชรและพลอย รวมถึงบริการซ่อมเพื่อดูแลสินค้าของลูกค้า ในปีพ.ศ.2533 ทางร้านจึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนชื่อร้านอีกครั้ง เพื่อแสดงถึงรูปแบบสินค้าและบริการที่หลากหลายมากขึ้น หันมาใช้ชื่อ “ห้างเพชรทองออโรร่า” และจัดตั้งเป็น บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด นับแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ปัจจุบันบริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด (มหาชน) มีธุรกิจหลักอยู่ 4 ประเภท

  1. ออโรร่า โมเดิร์น โกลด์ (ทองรูปพรรณ 95.6%)
  2. ออโรร่า ดีไซน์ โกลด์ (ทองรูปพรรณ 75%)
  3. ออโรร่า ไดมอนด์ (เครื่องประดับเพชร)
  4. ทองมาเงินไป (สินค้าฝากขาย)

 

แม้ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ตลาดทองคำจะมีมูลค่าลดลงกว่า 30% แต่บริษัทยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง สร้างรายได้เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ดังที่แสดงในงบการเงินของบริษัท

ปี 2564 มีรายได้รวม 22,255.55 ล้านบาท

ปี 2563 มีรายได้รวม 19,430.36 ล้านบาท

ปี 2562 มีรายได้รวม 17,331.81 ล้านบาท   

คิดเป็นกำไรในแต่ละปีอยู่ที่

ปี 2564 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 591.03 ล้านบาท

ปี 2563 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 734.14 ล้านบาท

ปี 2562 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 512.59 ล้านบาท

 

ก้าวสู่การเป็นบริษัท “มหาชน”

ปัจจุบันบริษัทได้ยื่นคำขออณุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ต่อต่อสำนักงานก.ล.ต. เพื่อเตรียมออกเสนอขายต่อประชาชนเป็นครั้งแรก(IPO) ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเวลาของการพิจารณาของทาง ก.ล.ต. ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวใหญ๋ของทางบริษัทเลยก็ว่าได้ ที่สามารถพัฒนาตัวเองจากบริษัทษัทตึกแถว มาจนถึงวันนี้ที่กำลังจะเสนอขายหุ้นออกสู่สาธารณะชนแล้ว

 

และทั้งหมดนี้คือกรณีศึกษาของห้างเพชรทองออโรร่ากว่าจะมาถึงวันนี้ที่ทางลองลงทุนได้รวบรวมและสรุปนำมาให้ทุกท่าน หวังว่าจะมีประโยชน์แก่ทุก ๆ ท่านที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ หากชอบเนื้อหา อย่าลืมช่วยกด Like กด Share กดติดตามช่องทางของลองลงทุน เพื่อไม่ให้พลาดเรื่องราวสาระความรู้ดี ๆ ที่เราจะนำมามอบให้แก่ทุกท่านอยู่เสมอ แล้วพบกันใหม่ในบทความน่าครับ

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn