DINK คือ คำสแลงในภาษาอังกฤษ เป็นตัวย่อของคำว่า Dual income, No kid ใช้เรียกกลุ่มคนที่เป็นแฟนกัน อยู่ด้วยกันแต่ไม่มีลูก ใช้ได้ทั้งคู่สามี-ภรรยาที่แต่งงานใหม่ คู่ที่อยู่อาศัยด้วยกันมานานและตัดสินใจว่าจะไม่มีลูก คู่แต่งงานที่ลูก ๆ โตแล้วและแยกออกไปสร้างครอบครัวใหม่เป็นของตัวเองแล้ว รวมถึงครอบครัว LGBTQAI+ ที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันแบบไม่มีลูกด้วยเช่นกัน
SINK คือ ตัวย่อของคำว่า Single income, No kid มีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า DINK เพียงแต่ในกรณีนี้เป็นรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ได้คบหาอยู่กับใคร ใช้ชีวิตโสดและมีอิสระเป็นของตัวเอง
สองคำนี้เป็นคำตรงข้ามของ DEWK ที่ย่อมาจาก Dually employed, With kid คำเหล่านี้เป็นคำที่นักการตลาดสร้างขึ้นเพื่อใช้แบ่งกลุ่มคนออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการทำการตลาดเจาะกลุ่มแต่ละเป้าหมาย ลักษณะเด่นของกลุ่มคนประเภทนี้คือกลุ่มคนที่ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร ทำให้มีเงินเหลือเก็บออม มีเงินลงทุน เป็นกลุ่มเป้าหมายของสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยและสินค้าราคาสูง โดยเฉพาะกลุ่ม DINK ที่มีรายได้เข้าครอบครัวจากทั้ง 2 ทาง
ทำไม DINK มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
การพัฒนาของเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามากขึ้นมาพร้อมกับความแข่งขันที่สูงมากยิ่งขึ้นเช่นกัน ในอดีตผู้คนมักจะมองว่าการมีลูกในจำนวนที่มากเป็นเรื่องที่ดี ไม่ว่าจะเรื่องของการสืบทอดวงศ์ตระกูล การช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่ผ่านการช่วยทำไร่ไถนา ช่วยกันทำงานหาเรื่องครอบครัว รวมถึงหวังพึ่งพาลูกมาคอยเลี้ยงดูยามพ่อแม่แก่เฒ่า
แต่กับยุคสมัยปัจจุบันมุมมองเหล่านี้เริ่มเลื่อนรางหายไป จากงานวิจัยความต้องการการมีบุตรในอนาคต : หลักฐานเชิงประจักษ์จากสตรีที่สมรสในประเทศไทย ที่รวบรวมข้อมูลจากสตรีที่สมรสแล้วในประเทศไทยอายุระหว่าง 15-49 จำนวน 15,661 พบว่ามีเพียง 18.8% เท่านั้นที่ต้องการมีบุตร โดยพบว่า อายุ อายุแรกสมรส ภูมิภาค สถานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนรวมถึงระดับการศึกษาสูงสุด ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ
อัตราการเกิดของประเทศไทย
อัตราการเกิดของประเทศไทย เป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดของประชากร DINK และ SINK ที่มากขึ้นได้เป็นอย่างดี จากการเก็บสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 ถึงปีพ.ศ.2564 อัตราการเกิดของประเทศไทยลดน้อยลงตามลำดับ โดยจำนวนการเกิดในปีพ.ศ. 2564 มีอยู่เพียง 544,570 คน ซึ่งน้อยลงจากปีก่อนหน้ากว่า 42,798 คน
ทฤษฎีประชากรของ robert thomas malthus
หนึ่งในทฤษฎีด้านประชากรที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้งเมื่อมีคำถามเกี่ยวกับประชากรนั้นก็คือทฤษฎีของ Robert thomas malthus นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษผู้นี้ได้อธิบายไว้ในหนังสือ priciple of propulation ไว้ว่าจำนวนการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของประชากรนั้นสอดคล้องไปกับจำนวนทรัพยากรและอาหาร ดังนั้นในช่วงที่เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจตกต่ำ(Recesstion) ความเสี่ยงด้านวิกฤตพลังงานและอาหาร รวมถึงส่งความรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติอย่างในปัจจุบันก็อาจเป็นสาเหตุที่ผลักดันให้ประชากร DINK และ SINK มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ผลกระทบที่จะตามมา
ผลกระทบที่จะตามมาหากอัตราการเกิดน้อยลงนั้นมีอยู่หลายประเด็นด้วยกัน เรื่องแรกได้แก่จำนวนแรงงานในตลาดแรงงานของประเทศจะมีจำนวนลดน้อยลง ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ อาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงประเด็นเรื่องผู้สูงวัยที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้แรงงานหนึ่งคนต้องแบกรับภาระคอยดูแลผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็แล้วแต่ ปัญหาเหล่านี้ยังมีทางออกที่สามารถแก่ไขได้ ผ่านการนำเทคโนโลยีมาใช้ร่วมกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานให้มีความสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จะช่วยส่งผลให้ประสิทธิผลของการทำงานสูงมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ในอนาคตจำนวนแรงงานอาจจะน้อยลง แต่ก็จะถูกแทนที่ด้วยหุ้นยนตร์หรือรูปแบบการทำงานแบบสร้างสรรค์เหล่านี้เป็นต้น