Fed อาจพ่ายแพ้ต่อสงครามเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI รอบล่าสุดยังคงสูง

Fed อาจพ่ายแพ้ต่อสงครามเงินเฟ้อ หลังตัวเลข CPI รอบล่าสุดยังคงสูง

นโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องที่ธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED (Federal Reserve Banks) เลือกใช้งานตลอดปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อใช้ต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทะลุเป้าหมายที่ระดับ 2% ไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 9% กว่า ดูจะยังไม่เป็นผลมากนัก

การประกาศตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer price index – CPI) ประจำเดือนกันยายน ที่เพิ่งประกาศไปเมื่อช่วงค่ำของคืนวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม นั้นทำให้รู้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องของ Fed ยังไม่สามารถทำให้สถานการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจได้

ผลการประการตัวเลข CPI ประจำเดือนกันยายนอยู่ที่ 8.2% ซึ่งแม้ว่าจะเป็นระดับตัวเลขที่ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่ใช่ตัวเลขที่หวังเอาไว้ หากมองย้อนกลับไปที่ตัวเลข CPI ประจำเดือนมีนาคม 2022 ของสหรัฐ จะเห็นว่าค่าของ CPI ในขณะนั้นอยู่ที่ 8.5% ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันกับปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่านโยบายที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ เร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างเข้มข้นตลอดช่วงระยะเวลาตั้งแต่ต้นปีมานี้ อาจยังเป็นผลมากนัก

 

Christopher S. Rupkey หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Fwdbonds แสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า 

“ผลการประการตัวเลขเงินเฟ้อในครั้งนี้เปรียบเสมือนภัยพิบัติที่ไม่บรรเทา สิ่งที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำอยู่ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่ามันไม่ได้ผล”

 

ซึ่งแม้จะมีเสียงคัดค้านเกิดขึ้น และผลลัพธ์ที่ได้ดูเหมือนจะไม่เป็นดั่งหวังมากนัก แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯก็ยังคงมุ่งมั่นในแนวทางขึ้นดอกเบี้ยนี้ต่อไป ดังเห็นได้จากคำแถลงการณ์ของนาย jerome powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ขึ้นพูดในการแถลงข่าวครั้งที่ผ่าน ๆ มา

กระทบต่อหนี้สินครัวเรือนและธุรกิจ ปัญหาในตลาดแรงงานที่จะหดตัวลง และภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ส่อเค้าว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ซึ่่งหลายฝ่ายให้ความคิดเห็นว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการประเมินแล้วว่า การจัดการปัญหาเรื่องเงินเฟ้อด้วยวิธีขึ้นอัตราดอกเบี้ย แลกกับปัญหาเหล่านี้ที่จะตามมาเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เพื่อให้ได้มาซึ่งสถานะการ “Sofe Landing” ทางเศรษฐกิจ อย่างที่คาดหวังเอาไว้

 

Jan Szilagyi – CEO จาก Toggle AI แสดงควสามเห็นต่อเรื่องนี้ว่า  “ธนาคารกลางสหรัฐฯ ใช้เรื่องราวเหล่านี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ตนเองในการเร่งเครื่องขึ้นอัตราดอกเบี้ย” 

 

และแน่นอนว่าปัญหานี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในสหรัฐฯอเมริกาเท่านั้น แต่สถานการณ์เงินเฟ้อยังกระจายออกสู่ทั่วโลก ซึ่งทั่วโลกเองก็ตอบรับกับปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีเดียวกันกับธนาคารกลางสหรัฐด้วยเช่นกัน นั้นคือการพากันขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย จนทำให้เกิดปัญหา ดอกเบี้ยหนี้ที่สูง ตลาดแรงงานหดตัว เศรษฐกิจถดถอย ฯลฯ

เรื่องนี้จึงกลายป็นปัญหาซีรี่ย์ยาวที่พึ่งเข้าสู่ช่วงกลางของเรื่องเท่านั้น ปลายทางตอนจบจะเป็นอย่างไรยังเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก แต่เรื่องที่แน่นอนที่เริ่มส่งสัญญาณมาสู่ประชาชนทั่วโลกแล้วนั้นก็คือความผันผวนทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความยากลำบากในการใช้ชีวิต ที่จะยากลำบากเพิ่มมากขึ้นในอนาคต 

 

ที่มา

cnn

 

#ลองลงทุน

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn