PMI หรือ Purchasing Managers’ Index เป็นดัชนีที่รวบรวมเม็ดเงินการใช้จ่ายด้านการจัดซื้อในอุตสาหกรรมภาคการผลิตและการบริการ ใช้สะท้อนความคึกคักของระบบเศรษฐกิจ หากตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้น จะตีความได้ว่าภาคการผลิตและบริการเร่งกำลังการผลิตมากขึ้น แต่หากตัวเลขดังกล่าวลดลง จะตีความได้ว่าภาคการผลิตและบริการลดกำลังการผลิตลง
หลายคนที่ติดตามข่าวสารด้านเศรษฐกิจ การเงิน-การลงทุนอยู่เป็นประจำ เชื่อว่าจะต้องเคยพบเคยเห็นดัชนีตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ผ่านหูผ่านตาเข้ามาบ้าง อย่างตัวเลขดัชนี GDP ที่ใช้บอกการขยายตัวหรือหดตัวของเศรษฐกิจ ตัวเลขดัชนี CPI ที่ใช้บอกปริมาณการใช้จ่ายภาคประชาชน หรือัตราดอกเบี้ยนโยบายต่าง ๆ ที่ประกาศออกมาอยู่เป็นระยะ
สำหรับในบทความนี้ เราจะมาพูดคุยเกี่ยวกับดัชนีที่มีชื่อว่า Purchasing Managers’ Index ที่ใช้บอกแนวโน้มของเศรษฐกิจ และจัดเป็นอีกหนึ่งดัชนีทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
PMI คือ อะไร
Purchasing Managers’ Index หรือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีที่รวบรวมข้อมูลจำนวนเม็ดเงินสำหรับการจัดซื้อวัตถุดิบใหม่เข้าสู่บริษัท เพื่อใช้ในการประกอบสินค้าหรือดำเนินธุรกิจต่อไป ใช้เป็นภาพสะท้อนแนวโน้มของเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในขณะนี้ หากตัวเลขดัชนีเพิ่มขึ้น หมายความว่าตลาดมีความต้องการซื้อต้องการขายมากขึ้น แต่หากดัชนีมีตัวเลขลดลง ก็หมายความว่าความต้องการซื้อต้องการขายในระบบลดลง
ดัชนี PMI จัดทำโดยใคร
ผู้ที่จัดทำดัชนีนี้ประกอบได้ด้วย 3 องค์กรหลัก ได้แก่ Institute for Supply Management (ISM) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1915 มีหน้าที่ในการจัดทำดัชนีในสหรัฐฯเป็นหลัก , IHS Markit Ltd บริษัทผู้ให้บริการข้อมูลด้านการเงิน และเศรษฐกิจรายใหญ่ของโลก มักจัดทำดัชนีของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก และ Caixin Media Company Ltd (Caixin) องค์กรในจีนที่จัดทำดัชนีนี้
ประโยชน์ของดัชนี
- สะท้อนภาวะการขยายตัวหรือหดตัวของอุตสาหกรรมภาคการผลิตและบริการ
- เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้แก่ ผู้บริหาร ผู้กำหนดนโยบาย นักวิเคราะห์ นักลงทุน ฯลฯ
ดัชนีPMI มีอยู่ 2 ประเภทได้แก่
- ManufacturingPMI – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต
- ServicesPMI- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ
การนำไปใช้วิเคราะห์
ค่าดัชนีนั้นมีตั้งแต่ 0 ถึง 100 ทำให้ในแต่ละครั้งที่ประการค่าดัชนี ผู้ใช้สามารถนำมาตีความความหมายได้ 3 ลักษณะ
- ค่ามากกว่า 50 หมายความว่า การจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริการมีมากขึ้น สะท้อนแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีมากขึ้น
- ค่าเท่ากับ 50 หมายความว่า การจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริการมีค่าเท่าเดิม สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจที่ไม่เปลี่ยนแปลง
- ค่าน้อยกว่า 50 หมายความว่า การจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตและบริการมีลดลง สะท้อนแนวโน้มการหดตัวลงของเศรษฐกิจ
อ้างอิง