Recession คืออะไร ?

Recession คือชื่อเรียกปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP – Gross Domestic Product) ต่ำลงเมื่อเทียบกับตัวเลข GDP ไตรมาสก่อนหน้าและจะต้องต่ำลง 2 ไตรมาสติดกัน จึงจะถือว่า Recession เกิดขึ้น 

จะเห็นว่าการเกิด Recesstion นั้นเกิดขึ้นได้ไม่ยาก หากย้อนดูประวัติศาสตร์ของประเทศไทยจะพบว่าเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำเคยเกิดขึ้นมาแล้วเป็นจำนวนหลายครั้ง ยกตัวอย่างเช่น

  • พ.ศ. 2540 วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
  • พ.ศ. 2551 วิกฤต subprime ที่สหรัฐอเมริกา
  • พศ 2556 – 2557 สถานการณ์การชุมนุมภายในประเทศ 
  • พ.ศ. 2562 เชื้อไวรัส Covid-19

สาเหตุที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจถดถอย

แถบจะกล่าวได้ว่าทุก ๆ หน่วยเศรษฐกิจย่อมเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทดถอยได้ทั้งสิ้น เนื่องจากสมการการคำนวณ GDP ที่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจตกต่ำนั้นเกิดจาก 

 

G + C + I + (X – M) = GDP

อธิบายให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น 

G ย่อมาจาก Government ที่แปลว่ารัฐบาล ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการการใช้จ่ายของภาครัฐ การออกนโยบายต่าง ๆ รวมถึงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ล้วนถูกนำไปคำนวณใน GDP ทั้งสิ้น

C ย่อมาแจก Comsumtion หรือการบริโภคของภาคประชาชน จึงทำให้การจับจ่ายซื้อของของประชาชนไม่ว่าจะมากขึ้นหรือลดลงก็มีส่วนทำให้เศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยเช่นกัน 

I ย่อมาจาก Investment คือการลงทุนของภาคเอกชน การสร้างกิจการร้านค้าใหม่ ๆ การลงทุนในธุรกิจ จะถูกรวบรวมนำมาคำนวณเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศผ่านช่องทางนี้

X – M ย่อมาจาก Import – Export หากช่วงไหนเรามีการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศมากกกว่าซื้อสินค้าต่างชาติจะทำให้สมการส่วนนี้เป็นบวก แต่หากเป็นเหตุการณ์ตรงกันข้าม เรานำเข้าสินค้ามากกว่าส่งออกสินค้า ก็จะทำให้สมการส่วนนี้ติดลบ

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ๆ ที่เกิด จะมีขนาดเล็กน้อยซักเพียงใด ทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชนย่อมถูกนำมาคำนวณอยู่ในสูตรการคำนวณเศรษฐกิจของประเทศด้วยกันทั้งสิ้น

ผลกระทบ

สภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลต่อภาพรวมบบรยากาศของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ ผู้ผลิตลดกำลังการผลิตลง ผู้ซื้อรัดเข็มขัดมากขึ้น อาจเกิดบรรยากาศการเงินที่ฝืดเคือง รายได้โดยรวมลดน้อยลง เมื่อรายได้ลดน้อยลงก็เสี่ยงต่อการเกิดการผิดนัดชำระหนี้ กระทบสภาพคล่องและเงินสดที่ใช้หมุนเวียนประกอบธุรกิจเสี่ยงต่อการปิดกิจการ ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะหมุนวนและกระทบต่อผู้คนโดยรวมในช่วงเวลานั้นจนกว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว

แท็กที่เกี่ยวข้อง
Facebook
Twitter
LinkedIn